ประวัติ

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชาชีววิทยาเริ่มก่อตั้งในสมัย มจ. พูนศรี เกษมศรี เป็นคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ในโอกาสที่สมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ทรงเป็นผู้แทนฝ่ายไทยเจรจากับผู้แทนมูลนิธิร๊อคกี้เฟลเลอร์ เมื่อ พ.ศ. 2464 เพื่อปรับปรุงคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาลจุฬาลงกรณ์

มูลนิธิร๊อคกี้เฟลเลอร์เห็นความสำคัญของการศึกษาวิทยาศาสตร์ชั้นมูลฐานในอันที่จะเป็นหลักในการพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงเห็นสมควรที่จะปรับปรุงการศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ทุกสาขา โดยเฉพาะทางสาขาชีววิทยา

ศาสตราจารย์ศุภนัย วานิชวัฒนา (พ.ศ. 2278-2509) เป็นอาจารย์ไทยคนแรกที่มูลนิธิร๊อกคี้เฟลเลอร์เห็นความสามารถและความเหมาะสมที่จะเข้ารับตำแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ เมื่อสัญญาการช่วยเหลือทางมูลนิธิร๊อกคี้ไฟเลอร์สิ้นสุดลง หลังจากนั้นจึงได้มีการแต่งตั้งให้ศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล เข้าดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ในลำดับต่อมา

ตึกทดลองวิทยาศาสตร์หลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งรู้จักกันดีในนาม “ตึกขาว”
ตราสัญลักษณ์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปรัชญา

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นแหล่งความรู้และแหล่งอ้างอิงทางชีววิทยา ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและคุณธรรม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ปณิธาน

เป็นชุมชนวิชาการที่เข้มแข็ง

สร้างและบูรณาการองค์ความรู้

สร้างปัญญาในสังคม

สร้างบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์

ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน

เป้าหมายและวัตถุประสงค์

ผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ด้านชีววิทยาและสัตววิทยาที่มีคุณภาพและคุณธรรม มีสำนึกสาธารณะ และเป็นผู้นำทางวิชาการได้

วิจัยเชิงพื้นฐาน ประยุกต์ และบูรณาการ เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ และระดับนานาชาติ

บริการความรู้ สู่สังคมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างความสุขและความสามัคคีในหมู่คณะ